วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นวัตกรรม คืออะไร

                http://ceit.sut.ac.th ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
                นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
                มอร์ตัน  (2530 : 3)  ได้กล่าวไว้ว่า  นวัตกรรม  หมายถึง  การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง  (Renewal) 
การปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร  ตลอดจนหน่วยงาน  หรือองค์การนั้นๆ นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป   แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
                ไชยยศ  เรืองสุวรรณ 
(2542 : 13)  กล่าวไว้ว่า  นวัตกรรม  หมายถึง  วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม  และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลองพัฒนา  จนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้ระบ่ก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
                กล่าวโดยสรุป  นวัตกรรม  หมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

เอกสารอ้างอิง
                · http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138.  เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554
               
· บุญเกื้อ  ควรหาเวช. (2530). นวัตกรรมการศึกษา. เจริญวิทย์การพิมพ์ : กรุงเทพฯ.
               
· บุญเกื้อ  ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. หจก. SR Printing : กรุงเทพฯ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น